อาชีพของชาวภาคใต้ ชาวภาคใต้ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่งทะเล ทั้งนี้แล้วแต่ทำเลที่ตั้งบ้านเรือนด้วย เช่น ผู้ที่อยู่ที่ราบเชิงเขา ที่ราบระหว่างเขา จะมีอาชีพทำสวนยางพาราและทำสวนผลไม้ ทำไร่ยาสูบ (ยากลาย) ส่วนผู้ที่อยู่ที่ราบลุ่ม มีอาชีพทำนา จับสัตว์น้ำ และพวกที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล ก็จะทำนา จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่ง เป็นต้น ![]() ชาวนาใช้ไถ คราด แอก มีเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว เช่น แกะ เคียว ตรูด ครกสี ครกสากตำข้าว แสกหาบข้าว กระด้งฝัดข้าว กระด้งมอญ สอบจูดนั่งใส่ข้าวเปลือก คนภาคใต้นิยมใช้แกะเก็บข้าวทีละรวง สามารถเก็บข้าวได้หมด มีหล้อ(เกราะ) แขวนคอวัวควาย เสียงหล้อดังเป็นการแสดงตำแหน่งที่อยู่ ![]() เครื่องมือมีถ้วยหรือพรกยาง มีดตัดยาง ตะเกียงแก๊ส หินลับมีด หมวก ถังน้ำยาง รางยาง จักรรีดยาง น้ำยาฆ่ายาง ชาวสวนจะตื่นตั้งแต่ตี 2 - 3 ออกกรีดยาง ตอนย่ำรุ่งอากาศเย็นสบายน้ำยางจะไหลออกมา ![]() ชาวใต้มีพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง จะใช้เวลาทำไร่ยาสูบหลังจากเก้บเกี่ยวข้าวแล้วและปลูกในพื้นที่ก่อนปลูกยางพารา เครื่องมือในการฝานใบยาสูบ มีขื่อฝานยา มีดฝานยา แผงตากยา และโอ่งเก็บยา ![]() มีเครื่องมือไม่มากนัก เช่น จอบ เสียม มีด พร้า กรอมเก็บผลไม้ ไม้ขอย ตะกร้า โยงผูกด้วยตะขอไม้สำหรับผูกกิ่งไม้ เมื่อขึ้นเก็บบนต้นสูง มีเชือกยาวสำหรับหย่อนตะกล้าให้คนข้างล่างและยังมีผ้าแล่สะพายไหล่สำหรับใส่พืชผักและผลไม้บางชนิด มีเข่งและโตร๊ะสำหรับใส่ผลไม้ ![]() ชาวภาคใต้จะเลี้ยงสัตว์ไว้ข้างบ้านส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่เพื่อเก็บไข่ไก่ปรุงอาหาร มีเครื่องมือได้แก่รังไข่ กรอมไก่ ![]() เมื่อน้ำหลากใช้ไซ ส้อน ยอ โมร่ ไปดักจับปลาจับกุ้ง ส่วนแห เบ็ดทง เบ็ดราว ตะข้อง สุ่ม เจ้ย ใช้จับปลาตามหนองน้ำ ลำคลอง ปลาจึงเป็นอาหารหลักของคนใต้ ![]() ชาวประมงใช้เบ็ดราวผูกไซดักปลา มีการจับปลาดุกทะเลในรูด้วยในบริเวณน้ำตื้น (โดยใช้เครื่องมือ ไซ สวิง ไม้พาย ส่วนเวลากลางคืนเมื่อน้ำใสออกหาปลา ใช้ฉมวกแทงปลา ส่วนบริเวณป่าชายเลน และลำคลองจะดักปลาด้วยแร้ว จับกุ้งด้วยฉมวก ยามว่างชาวใต้ชอบเลี้ยงนกเขา นกกรงหัวจุกไว้ฟังเสียงนกร้อง เช้าจะชักกรงนกขึ้นบนเสาสูงให้นกเขาตากแดด ชอบแขวนรังนกเพื่อให้นกเขาอยู่อาศัย แขวนลูกลมกังหันไม้ฟังเสียงลมกังวาลยามลมพัด และเล่นว่าวชนิดต่าง ๆ เมื่อลมว่าวมา วิถีชีวิตชาวใต้แต่ดั้งเดิม เป็นชีวิตที่สงบเรียบง่ายแต่มีหลักคิด อุดมการณ์ และยุทธวิธีอันทันสมัยทันเหตุการณ์ เหมาะกับสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เป็นที่น่าเสยดายว่าสิ่งดี ๆ เหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัตถุนิยมของสังคมปัจจุบัน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องช่วยกันฉุดรั้งและพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควรซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน |
อาชีพการทำงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น